วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แฟชั่นน้องกระต่ายน้อย

     
                   
                      เป็นต้องถ่ายทอดมาสู่สัตว์เลี้ยงของตัวเองอย่างแน่นอน โดยเฉพาะแฟชั่นเสื้อผ้า เมื่อน้องหมามีใส่แล้วมีหรือที่กระต่ายจะไม่มี
ในงาน "แรบบิท เฟสต้า อิน โยโกฮามา ซิตี้" เขาจัดประกวดการออกแบบเครื่องแต่งกายของเจ้ากระต่ายน้อย ซึ่งครั้งนี้มีบรรดาผู้รักกระต่ายมาร่วมงานกันมากถึง 8,000 คนเลยทีเดียว ยังไม่หมดเท่านั้น บรรดาเจ้าของกระต่ายแต่ละคน ต่างนำแรงบันดาลใจสุดเดิ้น มาดีไซน์ชุดสุดเก๋ให้เจ้ากระต่ายใส่กัน ไม่ว่าจะเป็นแรงบันดาลใจจากชุดไทยประยุกต์ ที่เจ้าของนำผ้าไหมสีแดงปักลายด้วยดิ้นสีทอง มาตัดเป็นเสื้อของเจ้ากระต่ายตัวขาวจั๊วะ แถมยังนำร่มกระดาษคันเล็กของชาวเหนือมาเป็นแอคเซสเซอรี่ซะด้วย
สัตว์เลี้ยง, กระต่าย
                     
                     ด้านกระต่ายตัวโตหูยาว เจ้าของก็ดีไซน์ชุดนักเรียนสาวมัธยมญี่ปุ่นให้ใส่ เด่นด้วยกระโปรงลายสกอตสีแดงแจ๊ด แถมยังกิ๊บเก๋ด้วยกิ๊บติดขนตัวจิ๋วบนหน้าผากและหู ช่างคล้ายกับนักเรียนสาวมัธยมที่รักสวยรักงามจริงๆ หรือจะงามอย่างกระต่ายสีน้ำตาลตัวเล็ก ที่มาในชุดเจ้าสาวแสนสวยขาดก็แต่เจ้าบ่าวเนี่ยแหละที่ยังหาไม่ได้ ส่วนกระต่ายอีกตัวก็มาในชุดกระโปรงลายสกอตสีขาวดำ พร้อมกับหมวกลายสกอตเข้ากับชุด ดูยังไงๆ ก็น่าฟัดซะให้เข็ด
สัตว์เลี้ยง, กระต่าย
                    
                  ปิดท้ายด้วยกระต่ายสุดหวานในชุดราตรียาวสีชมพูสด สะดุดตาด้วยโบใหญ่กลางหลัง ว่าแต่จะให้ใส่เพียงชุดสวยก็ดูจะไม่เด่นเท่าไร เจ้านายเลยออกแบบหมวกใบจิ๋วประดับด้วยขนนกสีขาว มาติดไว้บนหัวของกระต่าย ดูๆ แล้วเหมือนเจ้ากระต่ายเตรียมพร้อมไปงานเต้นรำสุดหรูเลยทีเดียว






                                                               




วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การดูแลกระต่ายเท็ดดี้แบร์ช่วงฤดูหนาว

          
                                      
                                         คุณทรงวุฒิ สระทองลัน เจ้าของฟาร์ม


                     “กระต่ายซน” จ.เพชรบุรี มีประสบการณ์ในการเลี้ยงกระต่ายมานานประมาณ 7-8 ปี และมีการเพาะเลี้ยงกระต่ายหลากหลายสายพันธุ์ อาทิ พันธุ์โปลิศแคระ, เนเธอร์แลนด์, ฮอนแลนด์ล็อป ฯลฯ คุณทรงวุฒิได้ให้คำแนะนำผู้เลี้ยงกระต่ายสวยงามในช่วงฤดูหนาว ว่าสำหรับผู้เลี้ยงในกรงนอกอาคารหรือเลี้ยงในโรงเรือน เมื่อมีอากาศหนาวเย็นจะต้องทำที่บังลมหนาวไม่ให้พัดโกรกผ่านกรงเลี้ยงมากนัก จะใช้แสลนหรือแผ่นพลาสติกกั้นโรงเรือน กระบะนอนควรมีฟางแห้งหรือหญ้าแห้งให้กระต่ายได้หลบเพื่อให้ความอบอุ่น โดยเฉพาะลูกกระต่ายที่เพิ่งคลอดหรืออายุยังน้อย ถ้ากระทบความหนาวเย็นอาจจะทำให้ลูกกระต่ายตายได้
                      ภายในกรงควรจะมีกระบะไม้ไผ่ที่มีความสูงประมาณ 1 คืบมือ เพื่อให้แม่กระต่ายใช้เลี้ยงลูกน้อยและป้องกันไม่ให้ลูกกระต่ายคลานหรือ กระโดดออกมาข้างนอก (กระโดดตามแม่กระต่าย) ซึ่งเป็นวิธี การป้องกันที่ดี สำหรับอาหารที่จะให้กับกระต่ายใหญ่หรือแม่กระต่ายในช่วงฤดูหนาวนั้นพบว่าจะ กินอาหารเม็ดสำเร็จรูปน้อยลง ควรจะต้องเสริมด้วยอาหารจำพวกหญ้าหรือเมล็ดธัญพืชเพื่อช่วยระบบขับถ่าย ของกระต่ายให้ดียิ่งขึ้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทผักและผลไม้ที่มีน้ำมาก เช่น แตงกวาและแตงโม เนื่องจากจะทำให้กระต่ายเกิดอาการท้องร่วงอย่างเฉียบพลันได้ ในขณะเดียวกันผักและผลไม้ที่ซื้อมาจากตลาดอาจจะมีสารฆ่าแมลงตกค้างจะต้อง ระวังด้วย อาหารที่ใช้เลี้ยงกระต่าย
                     จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ อาหาร หยาบ หมายถึงอาหารที่มีเยื่อใยสูง เช่น หญ้าขน ควรให้กินเต็มที่จะขับถ่ายออกเป็นของเสียมาก อีกกลุ่มหนึ่งคือ อาหารสำเร็จรูป ถ้าเลี้ยงกระต่ายด้วยอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวในปริมาณที่เหมาะสมจะทำ ให้กระต่ายเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน
น้ำดื่มที่จะให้กระต่ายกินควรจะเปลี่ยนทุกวันและผสมวิตามินรวมเพื่อ เสริมสุขภาพให้กระต่ายแข็งแรง ภาชนะที่ใส่น้ำผู้เลี้ยงจะต้องหมั่นสังเกตว่าสะอาดหรือไม่ เพราะน้ำสกปรก จะเป็นผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมของกระต่ายได้ ถ้าพบว่าในช่วงฤดูหนาวพบว่ากระต่ายมีอาการจามและมีน้ำมูกในการรักษาเบื้อง ต้นให้กระ ต่ายกินยาพาราเซตามอลน้ำโดยใช้หลอดฉีดยา ถ้าไม่หาย ควรนำกระต่ายไปให้สัตวแพทย์รักษาต่อไป ในการทำความสะอาดโรงเรือนและกรงเลี้ยงจะต้องทำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อลดกลิ่นเหม็นที่เกิดจากมูลกระต่าย
                   ในการอาบน้ำกระต่ายถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่มีความจำเป็นมากนัก เนื่องจาก กระต่ายจัดเป็นสัตว์เลี้ยงที่รักษาความสะอาดอยู่แล้ว กระต่ายจะเลียขนตัวเองเพื่อทำความสะอาดอยู่ตลอดเวลา ในการอาบน้ำควรเลือกวันที่มีอากาศร้อนและแสงแดดจัด โดยใช้แชมพูแบบอ่อน ๆ ประเภทเดียวที่ใช้กับสุนัขหรือแมวก็ได้ และขณะที่อาบน้ำควรใช้สำลีอุดหูกันน้ำเข้าหูก่อนอาบ หลังจากอาบเสร็จเช็ดด้วยผ้าสะอาด แล้วเป่าด้วยไดร์เป่าผมจนแห้งสนิท ถ้าเป็น กระต่ายพันธุ์ขนยาวจะต้องแปรงขนอีกครั้งหนึ่ง ที่สำคัญในการอาบน้ำกระต่ายครั้งแรกจะต้องรอให้กระต่ายมีอายุเกิน 3 เดือนขึ้นไป

 




 

อาหารเสริมกระต่ายที่ทรงคุณค่าคืออาหารสด

          อาหารสด หมายถึงอาหารจำพวกหญ้าและผัก ที่ยังคงความสดอยู่ จะมีคุณค่าทางอาหารมากกว่า หญ้าแห้ง หรือผักอบแห้งต่างๆ มีไฟเบอร์สูงเหมาะสำหรับกระต่ายทุกวัยโดยเฉพาะกระต่ายอายุ 1 ปีขึ้นไป

                                                                       หญ้าขน


                             

          หญ้าขนเป็น หญ้าที่จำเป็นสำหรับสมดุลทางโภชนาการของกระต่าย เพราะหญ้าขนเป็นแหล่งไฟเบอร์
อย่างดี ซึ่งจะช่วยให้กระต่ายมีระบบการ ย่อยอาหารที่สมบูรณ์และสมดุล ดังนั้นเราจึงควรมีหญ้าขนติดกรงไว้
และสามารถให้ กินได้ในปริมาณไม่จำกัด ตั้งแต่เด็กจนโตเลยค่ะ

                           

         
          หญ้าขนที่นำมาให้กระต่ายกินควรจะทำความสะอาดเสียก่อน โดยการแช่น้ำผสมด่างทับทิมไว้.
อย่างน้อย 30 นาที เหมือนการล้างผักทั่วไป  แต่ถ้าไปเก็บมาจากสถานที่ที่เสี่ยงต่อการมียาฆ่าแมลงตกค้างก็ควร
จะเลี่ยงหรือ แต่ด่างทับทิมให้นานหน่อย (ด่างทับทิมหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ราคาไม่แพงค่ะ)
ที่ต้องระวัง และต้องล้างสะอาดขนาดนี้ก็เป็นเพราะว่ากระต่ายเป็นสัตว์ที่ไวต่อสารเคมี และสิ่งมีพิษมากกว่าสัตว์อื่นๆ
สารเคมีตก ค้างเพียงเล็กน้อยก็อาจจะทำให้กระต่ายตายได้
         นอกจากนี้หญ้าขนยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระต่ายพันธุ์ขน เช่น เท็ดดี้แบร์  วู๊ดดี้ทอย เพราะจะ
ช่วยให้ขน นุ่มลื่น ช่วยลดอาการขนพันกัน อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการงอกใหม่ของขน ช่วยลดการผลัดขน
และช่วยบำรุง ขนด้วย





        

                                            

อาหารสำเร็จรูปของกระต่าย

          

        กระต่ายเป็นสัตว์กินพืชค่ะ  อาหารที่ได้รับตามธรรมชาติส่วนมากจะเน้นไฟเบอร์เป็น  หากเรานำ 
กระต่าย มาเลี้ยง เราจะต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของระบบร่างกายของกระต่ายด้วย  ซึ่งส่วนมากแล้ว ด้วยความสะดวกสบายของคนเลี้ยงเราสามารถใหอาหารข้นแทนได้   (อาหารข้นคืออาหารสำเร็จรูปที่มีวางขายทั่วไปในท้องตลาดค่ะ ในบางยี่ห้อก้จะแบ่งตามอายุ  หรือคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ   ที่แตกต่างกัน  ในหลายสูตรค่ะ )  
       

       แต่โดยความจริงแล้ว  ในแต่ละมื้ออาหาร ควรจะให้ไฟเบอร์ไม่ต่ำกว่า 60 %  ในมื้ออาหารนั้นๆ โดยเฉพาะกระต่ายที่โตเต็มที่แล้ว ย่อมต้องการปริมาณไฟเบอร์ที่มากพอกับการปรับสภาพของร่างกายค่ะ   
การให้อาหารไฟเบอร์ 75%  ขึ้นไปนั้น  ถ้าโดยส่วนตัวน้ำไม่แนะนำให้ ซื้ออาหารที่มีไฟเบอร์สูงๆค่ะ   น้ำคิดว่า มันสะดวกเราก็จริงอยู่  แต่โดยส่วนมากอาหารข้นที่มีไฟเบอร์สูงจะมีรสชาติที่ไม่ถูกปากของกระต่ายค่ะ   และมักพบปัญหากระต่ายไม่ยอมทานหรือทานน้อยลงเมื่อเปลี่ยนอาหาร  
ซึ่งความจริงแล้วไฟเบอร์แปรรูปที่อยู่รวมกันในอาหารเม็ดนั้น  สามารถทดแทนได้ดี(แนะนำว่าดีกว่ามาก) 
โดยการให้หญ้าสดหรือหญ้าแห้งแทนในแต่ละมื้ออาหาร  
และพยายามให้ทานหญ้า  ให้มากกว่า 75% ของอาหารทั้งหมดที่ทานในแต่ละวัน  
ซึ่งนอกจากเราจะได้ไฟเบอร์ที่ได้จากหญ้าแล้ว  ยังจะทำให้กระต่ายของเรามีสุขภาพฟันที่แข็งแรง 
และมีความพึงพอใจในการกินมากกว่า   อาหารเม็ดที่ไฟเบอร์สูงๆด้วยค่ะ



    

คุณสมบัติของผู้เลี้ยงกระต่าย

                     

                   เป็นกระต่ายที่มีขนาดกลางๆ มีขนฟูทั่วทั้งตัว ดูน่ารักเหมือนตุ๊กตา มีหลากหลายสี พบได้ง่ายในท้องตลาด Teddy หรือ Teddy Bear เป็นกระต่ายที่เป็นลูก ผสมเช่นกัน และได้รับการพัฒนาสายพันธุ์มาจาก เจอรี่ วู๊ดดี้ จนค่อนข้างนิ่งในเมืองไทย กระต่ายพันธุ์นี้ มีผู้นิยมเลี้ยงกันมาก เพราะว่า รูปร่างน่ารัก  ขนฟูยาวประมาณ 3-5 นิ้ว คล้ายสุนัขพันธ์ชิสุ และก็มีราคาไม่แพง เพาะพันธุ์ขึ้นจากฟาร์มใน
เมืองไทย จึงมีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ไม่มีในต่างประเทศ


                          
           ลักษณะสาย พันธุ์ :จัดอยู่ในกลุ่มกระต่ายที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1.5กิโลกรัม สามารถมีสีขนได้ทุกสี ทั้งสีโทนเดียวและสีลายแต้ม(โบคเค่น) ลักษณะขนยาวไม่ต่ำกว่า 3 นิ้ว ฟูเสมอกันทั้งบริเวณลำตัวและใบหน้า บางตัวฟูถึงกับมอง   ไม่  กับ   เห็นตา
         ขน ยาวและฟูเต็มที่เมื่ออายุได้ 3-4 เดือน ศีรษะขนาดปานกลางมนยาวเล็กน้อยจากหน้าผากถึงปลายจมูกโด่งโค้งมนได้รูปสวยงาม บริเวณศีรษะและใบหน้ามีขนขึ้นยาวปกคลุมเต็ม จนไม่เห็นรูปทรงของกะโหลกศีรษะ ใบหูขนาดกลางชี้ขึ้นด้านบนและกางออกเล็กน้อย อาจมีขนขึ้นปกคลุมหูและตามตัวดังในรูปภาพ
    

                       

ข้อดีข้อเสียของกระต่ายค่ะ

    

     1. กระต่ายเป็นสัตว์ที่อายุยืน ก่อนเลี้ยงคุณต้องคิดก่อนว่า คุณสามารถจะดูแลกระต่ายได้
       
 จนถึงวันสิ้นอายุขัยหรือไม่ หลายๆครั้งที่พบว่า กระต่ายได้ถูกทอดทิ้ง
        
เพียงเพราะเจ้าของเบื่อหน่าย หรือ เพราะต้องย้ายที่อยู่
        
เช่น ใครที่อยู่อพาร์ตเมนท์ช่วงสั้นๆ   แล้วรู้ว่า ในอนาคตต้องย้ายไปอยู่บ้าน
        
ไม่สามารถจะเลี้ยงกระต่ายได้ ก็ควรจะคิดให้ดีก่อนว่าเราจะทำยังไงกับชีวิตน้อยๆนี้ค่ะ

      2. กระต่ายเป็นสัตว์ที่ออกลูกดก สามารถจะออกลูกได้ปีละ 5 ครอกเลยทีเดียว
       
 แต่ละครอกอาจจะมีมากถึง 8 ตัวเป็นต้น ดังนั้นหากท่านคิดจะเลี้ยง ควรจะคิดให้ดี
      
  ว่าจะทำอย่างไรกับลูกกระต่าย หากคุณไม่อยากรับภาระเรื่องลูกกระต่าย
    
    คุณควรจะเลือกเลี้ยงกระต่ายเป็นเพศเมียทั้งหมด   หรือหากเลี้ยงตัวผู้กับตัวเมีย
  
      ควรพาตัวผู้ไปทำหมัน หรือไม่คุณควรที่จะมีที่มากพอ ที่จะแยกเลี้ยงกระต่ายแต่ละตัวได้ 
         (การเลี้ยงกระต่ายตัวผู้หลายๆตัวรวมกัน เมื่อกระต่ายโตขึ้น
         
อาจจะเกิดการข่มกันไปจนถึงกัดกันได้จึงไม่แนะนำค่ะ)


      3. กระต่ายเป็นสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร และกินอาหารเม็ดด้วยเช่นกัน
        
แต่เพื่อสุขภาพที่ดี คุณต้องให้อาหารจพวกผัก และ ผลไม้แก่กระต่ายด้วย
        
นอกจากนั้นที่สำคัญคุณต้องศึกษาเกี่ยวกับชนิดของผักและผลไม้
        
ที่เหมาะสมกับกระต่ายด้วย

      4. กระต่ายเป็นสัตว์ที่ขับถ่ายเยอะ ปัสสาวะ และอุจจาระ
        
หากไม่ได้รับการดูแลเรื่องความสะอาดให้ดีพอ   จะมีกลิ่นค่อนข้างมาก

      5. กระต่ายเป็นสัตว์ที่สุภาพ น่ารัก สะอาด ตัวของกระต่ายจะไม่มีกลิ่นเหม็น 
        
นอกจากที่อยู่อาศัยของกระต่ายจะไม่สะอาดพอ
        
กลิ่นจากที่อยู่อาศัยอาจจะติดที่ตัวของกระต่าย

      6. กระต่ายไม่ส่งเสียงร้องพร่ำเพรื่อ รบกวนผู้อื่น  คุณจึงสามารถจะเลี้ยงในบ้าน
         
อพาร์ตเมนท์   หรือในหอพักก็ได้
        
(ตอนน้ำอยู่หอพักก็แอบเลี้ยงค่ะ  แต่ไม่แนะนำให้ทำตามนะคะ มันไม่ดี  55+)

      7. กระต่ายก็เหมือนกับคนค่ะ เจ็บป่วยได้ แต่ว่าหมอที่รักษากระต่ายได้นั้น 
               
              ควรจะเป็นคุณหมอที่รู้จักกระต่าย ดีพอ ไม่ใช่คลินิคสัตวแพทย์ทั่วไป
        
ดังนั้นค่าใช่จ่ายในการรักษาก็มีเช่นกัน
        
หากเค้าป่วย เพื่อนๆ สามารถจะรับผิดชอบ พาเค้าไปหาหมอได้
หรือไม่
         ถ้าไม่ได้ อย่าเลี้ยงเลยค่ะ สงสารเค้า

        












     
 
     

คิดก่อนเลี้ยง ให้กระต่ายเป็นเพื่อนที่ต้องเอาใจใส่ ไม่ใช่ภาระที่ต้องเลี้ยงดู

              

                                   กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงที่น่ารักค่ะ  หลายคนหลงใหลในเสน่ห์ของมัน   
     
       และหลายๆคนก็อยากจะเลี้ยงดูชีวิตน้อยๆไว้เป็นเพื่อนยามเหงาค่ะ
     
       แต่ก่อนที่เราคิดจะซื้อหรือนำกระต่ายสักตัว(หรือมากกว่านั้น) มาเลี้ยง
 
      นั่นหมายถึง
เราต้องรับผิดชอบชีวิตน้อยๆเพิ่มขึ้นอีกหนึ่ง(หรือหลาย)ชีวิต 
  
     
      สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ...    เราพร้อมที่จะดูแลเอาใจใส่กับชีวิตน้อยๆนี้แค่ไหน
      สิ่งที่เราต้องรู้อย่างหนึ่งคือ   ยังไงกระต่ายก้มีชีวิต  มีความรู้สึก  และต้องการความรัก
      ไม่ต่างจากคนเราค่ะ..
  
      หากคุณคิดจะเลี้ยงกระต่ายแล้วละก็  ลองอ่านดูถึงข้อดีข้อเสียของกระต่ายกันก่อน
      เพื่อที่จะเข้าใจและยอมรับเค้ามากยิ่งขึ้นค่ะ





                    

สิ่งที่ต้องทำ เมื่อรับกระต่าย ไปแล้ว


สิ่งที่ต้องทำ เมื่อรับกระต่าย ไปแล้ว

เมื่อรับกระต่ายของเราไปแล้ว  สิ่งแรกที่ท่านควรจะต้องทำคือการตรวจสอบกระต่าย
ซึ่งทางฟาร์มของเรา มีการตรวจสอบเบื้องต้นก่อนส่งกระต่ายไปแล้ว ครั้งหนึ่ง
แต่เพื่อประโยชน์ของท่าน  ทันทีที่รับกระต่าย  ควรมีการตรวจสอบเบื้องต้น ด้วย

สิ่งที่ท่านต้องตรวจสอบเบื้องต้น
- ฟันของกระต่าย  ปกติหรือไม่
- สำหรับท่านที่ ดูเพศของกระต่ายเป็น  กรุณาตรวจสอบดุเพศอีกรอบ เพื่อความมั่นใจ

เมื่อรับกระต่ายไปถึงบ้านแล้วสิ่งที่ต้องคอยเฝ้าระวังคือ
1. กระต่ายขับถ่ายเป็นปกติ รึป่าว
2. ภายใน 6 ชม. หรืออาจจะก่อนหน้านั้น หลังจากพาเข้าที่พักแล้ว  
กระต่ายสามารถทานอาหารและน้ำได้ปกติ
3. ไม่มีอาการซึม  หรือผิดปกติอื่นๆ

การดูแลกระต่ายเบื้องต้น เมื่อรับกระต่ายไป
- กระต่ายที่รับไปจะต้องทานน้ำที่สะอาดจากขวด
- อาหารจะต้องใส่ชามที่สะอาด ระวังอย่าให้อาหารค้างถ้วยข้ามวัน เกินกว่า 2วันค่ะ
หากทานไม่หมดจริงๆ   ให้ทิ้งของเก่าและเติมของใหม่แทน  
และลดปริมาณอาหารลง กะพอดีกินไม่ให้เหลือ

(ปกติลุกกระต่ายจะกินทั้งวันค่ะ  ให้ทาน มื้อละ 2ช้อนโต๊ะ วันละ 3มื้อ
พออายุมากขึ้นเกินจาก 6เดือน ให้ลดเหลือ 2มื้อค่ะ

ปริมาณอาหารที่แนะนำ สามารถเพิ่มหรือลดได้ตามความเหมาะสมค่ะ
  + หญ้าแห้งควรมีติดกรงตลอดเวลา ค่ะ)
- อาหารที่เราแถมไปให้คืออาหารปกติที่เค้าทานอยู่ 
หากต้องการเปลี่ยนอาหาร

กรุณาผสมอาหาร ในอัตตราส่วน 1 ต่อ1 เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ 
แล้วจึงเปลี่ยนมาทานตัวใหม่ได้
- ลูกกระต่ายอายุ  ต่ำกว่า 3เดือน ห้ามทานผัก ผลไม้และของสด ทุกชนิด  
ยกเว้นหญ้าขนสดที่ทำการล้างอย่างสะอาดแล้วสามารถทานได้
- สำหรับกระต่ายโต  งดของสดเป็นเวลา 7 วัน หลังจากวันส่งกระต่าย
เพราะช่วงปรับตัวเข้ากับบ้านใหม่

ระบบการย่อยอาหาร อาจจะยังต้องมีการปรับตัวอีกสักพัก

***  เนื่องจากทางฟาร์มของเราจะรับประกันสุขภาพอยู่แล้ว  หากมีปัญหาใดๆ เป็นการด่วน
กรุณาโทร หาน้ำให้เร็วที่สุด เพื่อความปลอดภัยของตัวกระต่าย   และสิทธิในการประกันของท่าน 


สิ่งที่ต้องทำ ก่อนการรับกระต่ายเข้าบ้าน




เมื่อ ทำการซื้อกระต่ายกับทางฟาร์มของเรา
 ท่านจะต้องมีการเตรียมตัวเพื่อรับเด็ก ใหม่เข้าบ้าน ดังนี้ค่ะ
                                  1. จัดเตรียมสถานที่ในการเลี้ยง ค่ะ   ไม่ว่าจะเป็นกรง  คอก  หรือ บ้าน
    ควรจัดให้เป็นสัดส่วน   ถึงจะเลี้ยงปล่อยก็ต้องมี ที่วำหรับขับถ่ายหรือให้เค้าใส่ของใช้ส่วนตัวค่ะ     ขนาดกรงถ้าเลี้ยงในกรง  ควรมีขนาดเท่ากับกรงเบอร์ 3 ขึ้นไป  หรือประมาณ   42 x 60 ซม.      สูงไม่ควรต่ำกว่า 50 เซนติเมตรค่ะ  เวลายืนจะได้ไม่ติดหัวจ้า
 2. กระต่ายของที่ฟาร์ม  ทานน้ำจากขวดค่ะ  
ขวดน้ำของกระต่าย จะต้องเป็นระบบ ที่มีความนิ่มและปากขวดที่เล็กพอสมควร  
    ควรใช้เป็นขวดน้ำสำหรับสัตว์เล็กๆ  ค่ะ       ของที่บ้านจะใช้ยี่ห้อ LIXIT อยู่  ค่อนข้างจะทนทานและทำความสะอาดง่ายกว่ายี่ห้ออื่น
                                     3. ชามข้าว  จะใช้เป็นแบบชามเซรามิก  หรือ แบบล๊อคติดกับกรงก็ได้    
                                                                                             
                                               4. รางใส่หญ้า  อันนี้ ตามความพอใจค่ะ  จะเป็นตะกร้อ ตะแกรงหรือ  แบบไม้แกะสลักสวยๆก็ไม่ว่ากันค่ะ

  (ถ้าเป็นแบบใส่ไว้ในกรงขอให้หลีกเลี้ยงพลาสติกทุกชนิด ค่ะ
แต่ถ้าแขวนนอกกรง ใช้แบบพลาสติกได้ไม่เป็นไรค่ะ
)





มาตรฐานสายพันธุ์ เท็ดดี้แบร์ (Thai Teddy Bear)

มาตรฐานสายพันธุ์ เท็ดดี้แบร์ (Thai Teddy Bear)


คอ
   

     ควรจะสั้นมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จนทำให้รู้สึกเหมือนไม่มีคอ

อก             กว้างและลึก

ขา

   ขาตรง หนา แข็งแรง แลดูมั่นคง มีขนปกติยาวปกคลุมทั้งขาหน้าและขาหลัง
   ขาหลังอาจจะเป็นขนสั้น ปกติหรือขนยาวก็ได้

หาง

     หางมีขนยาวปกคลุม

ขนและสีขน

           ขน มีสองชั้นคือ ขนชั้นในและขนชั้นนอก ขนชั้นนอกควรยาวกว่าขนชั้นใน ขนมีลักษณะตกทิ้งลงข้างลำตัว ขนไม่พันกัน คุณภาพของขนสามารถดูแลรักษาได้ง่าย ความยาวของขนไม่ควรจะต่ำกว่า 2 นิ้วขนาด
    เพศผู้หนักประมาณ 1.5 ถึง 1.8 กิโลกรัม
    เพศเมียหนักประมาณ 1.6 ถึง 2.0 กิโลกรัม

ลักษณะที่ถือว่าบกพร่องของสายพันธุ์
     

      ขนยาวไม่สม่ำเสมอกันทั่วทั้งตัว ขนที่หน้าไม่ปกคลุมตา หูยาวกว่า 4 นิ้ว
 

หัว

          กะโหลกค่อนข้างกลม มีขนยาวปกคลุมเต็ม ขนยาวทิ้งลงมาจนปิดตา
ความยาวขนสม่ำเสมอกันทั้งหัว

หู

           หูตั้ง ขนาดปานกลาง และหนา ฐานหูอยู่ชิดกัน มีขนปกคลุม
ความยาวประมาณ 3-4 นิ้ว ขนที่หูเป็นขนสั้นปกติหรือขนยาวก็ได้

ตา

          ดวงตากลมโต สดใส สีของตาตรงตามมาตรฐานความสัมพันธ์ของสีของขนกับสีของตา

ลำตัว

           ลำตัวแลดูยาว แต่ไม่ได้ยาวมาก ความยาวสมดุลกับส่วนหัว
ขนาดความกว้างของลำตัวกว้างเกือบเท่ากัน  ไปจนถึงสะโพก
เส้นกระดูกสันหลังยาวตั้งฉากจากคอ ไปยังกลางหลัง
จนไปโค้งลงอย่างได้รูปตรงส่วนของสะโพก